ภัยธรรมชาติถือเป็นอีกภัยพิบัติที่ยากจะหลีกเลี่ยง เพราะบางครั้งไม่มีแม้แต่สัญญาณแจ้งเตือน นำมาซึ่งความเสียหายมากมายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ไม่ว่าจะเป็นภัยจากน้ำท่วม ไฟป่า ฝุ่นควัน หรือแม้แต่แผ่นดินไหว ที่ไม่นานมานี้เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น โดยเหตุแผ่นดินไหวดังกล่าวรุนแรงมากกว่า 7.6 แมกนิจูด และมีอาฟเตอร์ช็อกหลาย 100 ครั้ง

องค์กร Save the Children ระบุว่า สถิติผู้เสียชีวิตจากน้ำท่วม ไฟป่า พายุไซโคลน พายุ และดินถล่มทั่วโลก ในปี 2023 มีจำนวนอย่างน้อย 12,000 คน หรือมากกว่าปี 2022 ถึง 30% 

นอกจากนี้ในฐานข้อมูลภัยพิบัติ ของ EM-DAT (The international disaster database) ยังระบุอีกว่าเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ ระหว่างปี 2022 และปี 2023 มีประมาณ 240 เหตุการณ์ ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตจากดินถล่ม เพิ่มขึ้น 60% การเสียชีวิตจากไฟป่า เพิ่มขึ้น 278% และการเสียชีวิตจากพายุ เพิ่มขึ้น 340% โดยส่วนหนึ่งของการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เพิ่มขึ้นนี้ มาจากการที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากปัญหาภาวะโลกร้อนที่กำลังเปลี่ยนเป็นโลกเดือด ระบบเตือนภัยพิบัติจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในยุคที่ภัยอันตรายเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว

วันนี้ Security Pitch จะพามารู้จักอีกหนึ่งระบบเตือนภัยพิบัติที่ว่ากันว่า ดีที่สุดในโลก นั่นคือ J-ALERT ของประเทศญี่ปุ่น 

J-ALERT หรือ Japan’s Emergency Warning System เป็นระบบแจ้งเตือนภัยของญี่ปุ่น เปิดใช้ตั้งแต่ ปี 2004 เพื่อเผยแพร่ข้อมูลจากรัฐบาลสู่สาธารณะอย่างรวดเร็วผ่านดาวเทียม โดยแจ้งเตือนไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ทั่วประเทศ ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว สึนามิ น้ำท่วม หรือ แม้แต่การโจมตีทางอาวุธ เช่น การยิงขีปนาวุธ

เทคโนโลยีของ J-ALERT ประกอบไปด้วย Cell Broadcast, FM Radio, Television Broadcast Digital Signage ที่ใช้จอภาพดิจิทัลหรือบอร์ดแสดงข้อมูลเพื่อส่งข้อมูลเตือนภัย, RMI (Remote Method Invocation) ส่งข้อมูลเตือนภัยไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ที่สามารถรับข้อมูลของ J-Alert และ Disaster Prevention Administrative Radio ระบบสื่อสารไร้สายที่ใช้ในการส่งข้อมูลเตือนภัย

โดยการทำงานของระบบ J-ALERT จะเริ่มจากสำนักงาน Fire and Disaster Management Agency (FDMA) ทำการรับข้อมูลจากสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น สึนามิ แผ่นดินไหว หรือการโจมตีจากขีปนาวุธ หลังจากนั้นสำนักงาน FDMA ญี่ปุ่นฝั่งตะวันออกและตะวันตก จะทำการส่งข้อมูลฉุกเฉินไปยังอุปกรณ์รับสัญญาณ J-ALERT ผ่านดาวเทียมและวงจรภาคพื้นดินสำรอง ซึ่งอุปกรณ์ที่ J-ALERT ทำการส่งแจ้งเตือนไป มีตั้งแต่การแจ้งเตือนทางมือถือ, ประกาศทางวิทยุและโทรทัศน์ รวมไปถึงการประกาศแจ้งเตือนตามตึก หรือ อาคาร ในบริเวณที่ได้รับความเสี่ยง

ขณะที่ประเทศไทยมีการแจ้งเตือนผ่าน SMS Alert หรือ ผ่านแอป Thai Disaster Alert ที่พัฒนาโดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และการแจ้งเตือนผ่านสื่อมวลชนผ่านช่องทางต่างๆ  แต่ถึงแม้จะมีช่องทางการแจ้งเตือนภัย หลายช่องทางแต่ก็ยังติดปัญหาการใช้งานที่ยังไม่มีความ หลากหลายมากพอ

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับ OneForce

Tel. : 081-972-2500
Line : @securitypitch
Email : sales@securitypitch.com

บทความที่น่าสนใจ

Related Posts
  • ส่องนโนบายการส่งเสริมความปลอดภัยสาธารณะระดับท้องถิ่น

    Security Pitch พาส่องนโยบายความปลอดภัยสาธารณะในจังหวัดต่าง ๆ  ความปลอดภัยสาธารณะต้องมาเป็นที่หนึ่ง เหตุกราดยิงภัยคุกคาม หรือ ภัยสาธารณะต่างๆ นับเป็นปัจจัยอันดับแรก ๆ ที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ภัยเหล่านี้สามารถเกิดได้ทุกเวลา และมักสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ของประชาชนในพื้นที่ […]

  • กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วม เมื่อข้อมูลสำคัญต่อการวางแผน

    เมื่อสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยน อุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก 2-3 ปีที่ผ่านมาจึงมีภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไฟป่า, คลื่นความร้อน เอลนีโญ หรือพายุในมหาสมุทรที่รุนแรงกว่าที่เคยมีมา รวมถึงอุทกภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทำไมสถานการณ์น้ำท่วมจึงเลวร้ายขึ้น แม้หลายหน่วยงานจะพยายามหาทางรับมือและแก้ไข แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่จะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ  […]

  • ‘มาตรฐานรถโดยสาร’ ผู้ผลิตต้องใส่ใจ ผู้ใช้ต้องเลือกให้ดี

    จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้รถบัสวานนี้ ก่อให้เกิดกระแสเรียกร้องถึงการ #ยกเลิกทัศนศึกษา รวมถึงเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการ #ความปลอดภัยสาธารณะ ทั้งเรื่องของรถโดยสาร และแผนการรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุจากรถโดยสาร เกิดจากการขับรถเร็ว, ถูกตัดหน้าระยะกระชั้นชิด และการแซงผิดกฎหมายตามลำดับ ขณะที่สถิติล่าสุดจาก […]

Comments