-
ส่องนโนบายการส่งเสริมความปลอดภัยสาธารณะระดับท้องถิ่น
Security Pitch พาส่องนโยบายความปลอดภัยสาธารณะในจังหวัดต่าง ๆ ความปลอดภัยสาธารณะต้องมาเป็นที่หนึ่ง เหตุกราดยิงภัยคุกคาม หรือ ภัยสาธารณะต่างๆ นับเป็นปัจจัยอันดับแรก ๆ ที่ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชาชน ภัยเหล่านี้สามารถเกิดได้ทุกเวลา และมักสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน ของประชาชนในพื้นที่ […]
-
กรณีศึกษาปัญหาน้ำท่วม เมื่อข้อมูลสำคัญต่อการวางแผน
เมื่อสภาพภูมิอากาศของโลกเปลี่ยน อุณหภูมิสูงขึ้น ส่งผลให้สภาพอากาศแปรปรวนอย่างหนัก 2-3 ปีที่ผ่านมาจึงมีภัยพิบัติเกิดขึ้นมากมาย รวมถึงมีแนวโน้มทวีความรุนแรงขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ไฟป่า, คลื่นความร้อน เอลนีโญ หรือพายุในมหาสมุทรที่รุนแรงกว่าที่เคยมีมา รวมถึงอุทกภัยที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก ทำไมสถานการณ์น้ำท่วมจึงเลวร้ายขึ้น แม้หลายหน่วยงานจะพยายามหาทางรับมือและแก้ไข แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่จะขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ […]
-
‘มาตรฐานรถโดยสาร’ ผู้ผลิตต้องใส่ใจ ผู้ใช้ต้องเลือกให้ดี
จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้รถบัสวานนี้ ก่อให้เกิดกระแสเรียกร้องถึงการ #ยกเลิกทัศนศึกษา รวมถึงเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการ #ความปลอดภัยสาธารณะ ทั้งเรื่องของรถโดยสาร และแผนการรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุจากรถโดยสาร เกิดจากการขับรถเร็ว, ถูกตัดหน้าระยะกระชั้นชิด และการแซงผิดกฎหมายตามลำดับ ขณะที่สถิติล่าสุดจาก […]
‘มาตรฐานรถโดยสาร’ ผู้ผลิตต้องใส่ใจ ผู้ใช้ต้องเลือกให้ดี
จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมไฟไหม้รถบัสวานนี้ ก่อให้เกิดกระแสเรียกร้องถึงการ #ยกเลิกทัศนศึกษา รวมถึงเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรการ #ความปลอดภัยสาธารณะ ทั้งเรื่องของรถโดยสาร และแผนการรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน
ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ ระบุว่า สาเหตุหลักของอุบัติเหตุจากรถโดยสาร เกิดจากการขับรถเร็ว, ถูกตัดหน้าระยะกระชั้นชิด และการแซงผิดกฎหมายตามลำดับ ขณะที่สถิติล่าสุดจาก ศูนย์อุบัติเหตุที่มีการอัปเดตเป็นประจำระบุว่า มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนน จำนวน 10,407 ราย บาดเจ็บสะสม 633,727 ราย ส่วนใหญ่เป็นอุบัติเหตุทางมอเตอร์ไซด์ และรถยนต์ สถิตินี้มีการรายงานทุก 24 ชั่วโมง สามารถเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ ThaiRSC
มาตรฐานทางเทคนิคสำหรับความปลอดภัยของรถโดยสาร
ขณะที่บ้านเรายังมีการถกเถียงถึงมาตรฐานหรือการบังคับใช้กฎหมาย ในสหภาพยุโรปมีการกำหนดมาตรฐานของรถสาธารณะบนท้องถนนไว้ โดยคำนึงถึงมาตรการความปลอดภัยต่างๆ เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
โดย ECE-Regulation 107 หรือ ข้อบังคับภายใต้ข้อตกลงของคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติสำหรับยุโรป (UNECE) ได้กำหนดมาตรฐานทางเทคนิคสำหรับการออกแบบ และความปลอดภัยของรถโดยสารและยานพาหนะประเภทอื่นๆ ที่ใช้สำหรับการขนส่งผู้โดยสารของสหภาพยุโรปไว้ ซึ่งมีรายละเอียดตั้งแต่กฎทางเทคนิคเกี่ยวกับประตูฉุกเฉิน เช่น กระจกข้างของรถจะต้องแข็งแรง เพื่อทำหน้าที่เป็นตาข่ายนิรภัยกันไม่ให้ผู้โดยสารหลุดออกจากรถบัส นอกจากนี้การออกแบบทางเดินของรถโดยสารควรเอื้อต่อการอพยพผู้โดยสารอย่างรวดเร็ว และหน้าต่างต้องสามารถดีดออกได้อย่างง่ายดายหลังจากที่รถโดยสารหยุดนิ่ง
ที่สำคัญ ‘ประตูฉุกเฉิน’ จะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ดังนี้
- ประตูฉุกเฉินต้องสามารถเปิดได้ง่าย ทั้งจากภายในและภายนอก เมื่อยานพาหนะหยุดนิ่ง
- ประตูฉุกเฉินสามารถล็อกจากภายนอกได้ แต่ก็ต้องเปิดจากภายในได้เสมอ
- ประตูฉุกเฉินที่ใช้พลังงานไฟฟ้าต้องไม่ปิดเองหลังจากเปิด ยกเว้นคนขับสั่งปิด
- ประตูต้องเปิดกว้างพอให้มาตรวัดผ่านได้ภายใน 8 วินาที หรือสามารถเปิดด้วยมือได้ภายในเวลาเดียวกัน
- ประตูฉุกเฉินต้องไม่เป็นแบบเลื่อน ยกเว้นในยานพาหนะที่มีความจุบุคคลไม่เกิน 22 คน
- การควบคุมเปิดประตูฉุกเฉินจากภายนอกต้องอยู่ที่ความสูง 1-1.5 เมตร จากพื้น และไม่เกิน 0.5 เมตร จากประตู
- การควบคุมเปิดประตูฉุกเฉินจากภายใน ต้องอยู่ที่ความสูง 1-1.5 เมตร จากพื้นผิวใกล้ที่สุด และไม่เกิน 0.5 เมตร จากประตู
- ประตูฉุกเฉินแบบบานพับต้องมีบานพับที่ขอบด้านหน้าและเปิดออกด้านนอก
- สายรัดหรืออุปกรณ์ยึดอื่น ๆ สามารถใช้ได้ แต่ต้องไม่กีดขวางการเปิดประตูที่มุมอย่างน้อย 100 องศา
- ประตูฉุกเฉินต้องป้องกันการเปิดโดยไม่ตั้งใจ ยกเว้นกรณีที่ประตูล็อกอัตโนมัติเมื่อยานพาหนะเคลื่อนที่เกิน 5 กม./ชม.
- ประตูฉุกเฉินทุกบานต้องมีอุปกรณ์เตือนเสียงให้คนขับทราบเมื่อปิดไม่สนิท โดยอุปกรณ์เตือนนี้ต้องทำงานจากการเคลื่อนไหวของตัวล็อกหรือมือจับ ไม่ใช่จากการเคลื่อนไหวของประตู
- หากมีระบบล็อกกลางคืน ระบบนี้ต้องถูกปิดการทำงานอัตโนมัติ เมื่อสวิตช์กุญแจอยู่ในตำแหน่ง “ON” หรือมีการเตือนคนขับว่าระบบล็อกกลางคืนยังทำงานอยู่ที่ประตูหนึ่งหรือหลายบาน ขณะที่สวิตช์อยู่ในตำแหน่ง “ON”
เลือกรถบัสที่ได้มาตรฐาน
ขณะที่ผู้ผลิตจะต้องออกแบบรถโดยสารให้เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัย ผู้โดยสารเองก็ควรเลือกใช้บริการรถที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน อย่างน้อยดังนี้
- เลือกรถจากบริษัทที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ไม่ควรเลือกบริษัทรถที่เป็นรถส่วนบุคคล หรือ ผู้ประกอบการรายเดี่ยว
- ควรเลือกรถโดยสารชั้นเดียว หากต้องเดินทางไกล หรือใช้เส้นทางที่เป็นหุบเหว คดเคี้ยว
- มีใบตรวจสภาพรถยนต์จากกรมการขนส่งทางบก กับสัญญาว่าจ้าง ซึ่งระยะเวลาที่ระบุไม่ควรเกิน 2 เดือน ภายหลังจากการตรวจสภาพ
- มีเข็มขัดนิรภัยติดตั้งทุกที่นั่ง และต้องสามารถใช้งานได้จริง
- เบาะที่นั่งยึดโยงกับพื้นรถ ไม่เป็นแบบสไลด์ หรือสามารถถอดเข้าออกได้ รวมถึงไม่ควรมีการเพิ่มปริมาณเบาะที่นั่งจนเกินกำหนด
- มีอุปกรณ์นิรภัย ติดตั้งบนรถ เช่น ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง รวมถึงมีทางออกฉุกเฉิน เป็นต้น